หน่วยการเรียนที่ ๑: ความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย


ความหมายของสถาปัตยกรรม
     สถาปัตยกรรมไทย หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม ๔,๐๐๐ ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถแบ่งยุคได้เป็น ๒ รูปแบบใหญ่ๆ คือ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์และ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
    สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร  บ้านเรือน  โบสถ์  วิหาร  วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ   ที่มีมูลเหตุที่มาของการก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในแต่ละท้องถิ่น จะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างตามสภาพทาง ภูมิศาสตร์ และคตินิยมของแต่ละท้องถิ่น  แต่สิ่งก่อสร้างทางศาสนา พุทธมักจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก  เพราะมีความเชื่อความศรัทธาและแบบแผนพิธีกรรมที่เหมือน ๆ กัน สถาปัตยกรรมที่มันนิยมนำมาเป็นข้อศึกษา มักเป็น  สถูป   เจดีย์   โบสถ์   วิหาร หรือ พระราชวัง  เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทน  มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  และได้รับการสรรค์สร้างจากช่างฝีมือที่ เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งมีความเป็นมาที่สำคัญควรแก่การศึกษา อีกประการหนึ่งก็คือ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ล้วนมีความทนทาน  มีอายุยาวนานปรากฎเป็นอนุสรณ์ให้เราได้ศึกษาเป็นอย่างดี  สถาปัตยกรรมไทยสามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ ๒ ประเภท  คือ
        ๑. สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย   ได้แก่  บ้านเรือน  ตำหนัก  วังและพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน  เรือนไม้มีอยู่ ๒     ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนไม้ไผ่  ปูด้วยฟากไม้ไผ่    หลังคามุงด้วย ใบจาก  หญ้าคา หรือใบไม้   อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า  เรือนเครื่องสับ เป็นไม้จริงทั้งเนื้ออ่อน และเนื้อแข็ง ตามแต่ละท้องถิ่น    หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา   พื้นและฝาเป็นไม้จริงทั้งหมด    ลักษณะเรือนไม้ของไทยในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน   และโดยทั่วไปแล้วจะมี ลักษณะสำคัญร่วมกันคือ   เป็นเรือนไม้ชั้นเดียว   ใต้ถุนสูง   หลังคาทรงจั่วเอียงลาดชัน  ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์  หรือ ใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์  สำหรับพระราชวังเป็นที่ประทับของพระมหากษัติรย์  พระที่นั่ง เป็นอาคารที่มีท้องพระโรงซึ่งมีที่ประทับสำหรับออกว่าราชการ หรือกิจการอื่น ๆ



    ๒. สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในบิรเวณสงฆ์ ที่เรียกว่า วัด ซึ่งประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมหลายอย่าง      ได้แก่ โบสถ์ เป็นที่กระทำสังฆกรรมของพระภิกษุ    วิหารใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และกระทำสังฆกรรมด้วยเหมือนกัน กุฎิ เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ  สามเณร     หอไตร  เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญทางศาสนา  หอระฆังและหอกลอง   เป็นที่ใช้เก็บระฆังหรือกลองเพื่อตีบอกโมงยาม หรือเรียกชุมนุมชาวบ้าน   สถูปเป็นที่ฝังสพ  เจดีย์ เป็นที่ระลึกอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา  ซึ่งแบ่งได้ ๔  ประเภท คือ 
     ๑. ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุ และเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า 
     ๒. ธรรมเจดีย์ หมายถึง  พระธรรม   พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่างของพระพุทธเจ้า 
     ๓. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้า  หรือ ของพระภิกษูสงฆ์ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย 
     ๔. อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ   ตรัสรู้   แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน  และรวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระพุทธรูป  ธรรมจักร  ต้นโพธิ์  เป็นต้น

   

สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์
สามารถแบ่งได้เป็นยุคๆ ได้ดังนี้
  • ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖)
  • ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘)
  • ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่๑๒ - ๑๘)
  • ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๒๓)
  • ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๓)
  • ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๒๐)
  • ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓)

  • ยุคทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖)

จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ราชบุรี และ ยังกระจายไปอยู่ทุกภาคประปราย เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกและ ใต้ สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลปะโทนวัดพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวาราวดีทีพบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มียอดแหลมอยู่ด้านบน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เจดีย์จุลปะโทนวัดพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม

  • ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘)

พบในภาคใต้ ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยจะพบร่องรอยการ สร้างสถูปตามเมืองสำคัญ เช่น เมืองครหิ อำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมืองตามพรลิงก์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย คือการสร้างสถูปทรงมณฑปให้มีฐานและเรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนยอดเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม ส่วนฐานปากระฆังสร้างเป็นชึ้นลดหลั่นกันไป มีเจดีย์ประดับมุมและซุ้มบันแถลงในแต่ละทิศ ตัวอย่างเช่น พระบรมธาตุไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี

                 
                      พระบรมธาตุไชยา สถาปัตยกรรมยุคศรีวิชัย

          ยุคลพบุรี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘)

พบบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปแบบคล้ายศิลปะขอม เช่น เทวาลัย ปราสาท พระปรางค์ ต่างๆ นิยมใช้อิฐ หินทรายและศิลาแลง โดยใช้อิฐและหินทรายสำหรับสร้างเรือนปราสาทและใช้ศิลาแลง สร้างส่วนฐาน ต่อมาก็สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง สถาปัตยกรรมที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่เช่น ปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย และ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี

            ยุคเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๒๓)

พบในภาคเหนือ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่สร้างเพื่อเป็นศาสนสถาน อาณาจักรเชียงแสนได้รับเอา ศิลปวัฒนธรรมมาจากดินแดงแห่งอื่นเข้าผสมผสาน ทั้งศิลปะสุโขทัย ศิลปะทวาราวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะพม่า เชียงแสนนั้นเคยเป็นเมืองหลวงของล้านนาต่อเนื่องจากเวียงกุมกาม เชียงแสนที่มีศิลปะหลายอย่างรวมกันนั้นเพราะว่า ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองที่มีศิลปะนั้นๆ เช่น วัดพระธาตุจอมสวรรค์และวัดร้างหมายเลข ๑๓ นอกเมือง  เป็นต้น พบว่าได้มีศิลปะพม่าผสมผสานอยู่ด้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดพระธาตุจอมสวรรค์ ลำพูน

                ยุคสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐)

ศิลปะสุโขทัยเริ่มต้นราว พ.ศ. ๑๗๘๐ เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัย เอกลักษณ์ ของสถาปัตยกรรมสุโขทัย จะออกแบบให้ก่อเกิดความศรัทธาด้วยการสร้างรูปทรงอาคารในเชิง สัญลักษณ์ เช่น การออกแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือ เจดีย์ทรงกลม และปั้นรูปช้างล้อมรอบฐานเจดีย์
เจดีย์แบบสุโขทัยแบ่งออกเป็น ๓ แบบคือ
  • เจดีย์แบบสุโขทัยแท้ หรือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
  • เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
  • เจดีย์แบบศรีวิชัย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเจดีย์สมัยสุโขทัย

  รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                ยุคอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๒๐)

เป็นศิลปะที่เกิดจากการรวมกันของศิลปะทวาราวดี และอารยธรรมขอม ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมอู่ทองเช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                    ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓)

สมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปัตยกรรมถือว่าอยู่ในจุดสูงสุด คือเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทุกประการ และมีความงดงามอ่อนช้อยตามลักษณะแบบไทยๆ แต่การพัฒนาทางสถาปัตยกรรมต้องหยุดลงหลังกรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทั้งด้านการปกครอง ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ฯลฯ เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในยุคนี้ คือ การออกแบบให้แสดงถึความยิ่งใหญ่ ร่ำรวย สถาปัตยกรรมจึงมีขนาดและรูปร่างสูงใหญ่ ตกแต่งด้วยการแกะสลักปิดทอง โบสถ์วิหารในกรุงศรีอยุธยาไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม และนิยมเจาะผนังอาคารให้เป็นลูกกรงเล็ก ๆ แทนช่องหน้าต่าง ลักษณะเด่นของการก่อสร้างโบสถ์วิหารอีกอย่างคือ การปล่อยแสงให้สาดเข้ามาในอาคารมากขึ้น โดยจะออกแบบให้แสงเข้ามาทางด้านหน้าและฉายลงยังพระประธาน

สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์


พระที่นั่งอนันตสมาคม มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม
สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น มีการสร้างอาคารต่างชนิดเพื่อรองรับกิจกรรมทางธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่อาศัยและวัดวาอารามในอดีต ได้แก่ โรงงาน โรงสี โรงเลื่อย ห้างร้านและที่พักอาศัยของชาวตะวันตก นอกจากนี้การสร้างอาคารของทางราชการ กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวังที่มีรูปแบบตะวันตกผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทย เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น วัดที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตกเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบกอธิค
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้แบ่งประเภท ของบ้านเรือนในกรุงเทพตามแบบวัฒนธรรมออกเป็น ๓ แบบ คือ 
  • แบบเดิม คือ แบบเรือนของผู้มีฐานะ (ระดับ) เดียวกัน เคยทำมาอย่างไรก็ทำมาอย่างนั้น มิได้คิดเปลี่ยนแปลงยกตัวอย่างเช่น วังเจ้าบ้านนายขุน
  • แบบผสม คือ เอาตึกฝรั่งหรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกเข้าบ้าง เข้าใจว่าเกิดขึ้นในรัชการที่ ๔ และต่อมาจนต้นรัชกาลที่ ๕ ดังตัวอย่างที่มีเก๋ง และ การแก้ไขตำหนักที่วังท่าพระ เป็นต้น
  • เปลี่ยนเป็นอย่างใหม่ คือ เลิกสร้างเรือนแบบไทยเดิม และตึกฝรั่ง เก๋งจีน คิดทำเป็นตึกฝรั่งทีเดียว เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 
อย่างไรก็ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้นก็คงเอกลักษณ์ไทยเอาไว้บ้าง เช่น การนำหน้าตาสถาปัตยกรรมไทยเข้ามาใส่ด้านหน้าของตึก ไม่ว่าจะเป็น ลายฉลุไม้ หลังคา ทรงจั่ว
“เจดีย์ ถือเป็นปูชนียสถานหรือวัตถุเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรืออาจจะหมายถึงตัวแทนของพระพุทธองค์ มีความมุ่งหมายให้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือบรรจุพระบรมธาตุ เจดีย์จึงเป็นประธานในวัด ต้นกำเนิดของเจดีย์มาจากอินเดียเรียกว่า “สถูป” ในภาษาบาลี หรือ “ถูป” ในภาษาสันสกฤต แต่เดิมก่อนมีพระพุทธศาสนาเป็นที่ฝังอัฐิ ในล้านนาเรียกเจดีย์ว่า กู่ เช่น กู่เต้า กู่กุด ต่างจากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมเรียกเจดีย์ว่า ธาตุ เช่น พระธาตุพนม ในทางพุทธศาสนาแบ่งเจดีย์ออกเป็น 4 ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุเทสิกเจดีย์ และบริโภคเจดีย์ ต่อมาสามัญชนหรือบุคคลชั้นปกครองได้นิยมนำอัฐิเจดีย์ของผู้มีเกียรติสูง บรรจุไว้ในเจดีย์ด้วยแต่ต่างวัตถุประสงค์กัน” (โชติ กัลยาณมิตร, 2539:94 – 97)
"สถาปัตยกรรมที่เรียกว่าเจดีย์นั้นไทยเราเรียกรวมถึงสถาปัตยกรรมในรูปอื่นที่สร้างขึ้นเพื่อความมุ่งหมายอย่างเดียวกันด้วยดังเช่นพระปรางค์ ในงานวิทยานิพนธ์เรื่องThe Origin and Developement of Stupa Architecture in Indiaโดย Sushila Pant พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1976 กล่าวว่า “สิ่งที่ไทยนิยมเรียกว่าเจดีย์นั้น มิได้เรียกเหมือนกันไปหมดทุกภาค” ในสถาปัตยกรรมแบบล้านนานั้นชาวภาคเหนือเรียกว่า “กู่” แทนคำเรียกว่าเจดีย์ เช่นกู่เต้า กู่กุฏิ ฯลฯ แต่ถ้าเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแล้วชาวภาคอีสาน นิยมเรียกว่า “ธาตุ” เช่น ธาตุพนม ธาตุบัวบก ฯล"
ลักษณะและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
พระเจดีย์ในประเทศไทย จากหลักฐานที่ปรากฏที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบได้ในปัจจุบันคือสมัย ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๘) ซึ่งส่วนใหญ่พังทลายเหลือแต่แนวฐาน จึงต้องสันนิษฐานรูปแบบจากพระสถูปจำลองขนาดเล็ก หรือจากภาพปูนปั้นเหนือผนังถ้ำบางแห่งหรือจากภาพสลักบนใบเสมาสมัยเดียวกัน ทำให้พอเห็นได้ว่ามีองค์ประกอบสำคัญ ๔ อย่าง คือ ฐาน องค์ระฆัง บัลลังก์ และยอด 
รูปทรง
รูปทรงของเจดีย์อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
เจดีย์ทรงระฆัง :
เจดีย์ที่มีองค์ระฆังเป็นลักษณะเด่นโดยมีฐานรองรับอยู่ส่วนล่างเหนือองค์ระฆังเป็นส่วนยอดมีบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม,ปล้องไฉนและปลีทรงกรวยแหลม

เจดีย์ทรงปราสาท :
ปราสาทหมายถึงเรือนที่ซ้อนหลายชั้นหรือมีหลังคาลาดหลายชั้นซ้อนกันเจดีย์ทรงปราสาทในประเทศไทยมีทั้งลักษณะเรือนธาตุซ้อนชั้นหรือหลังคาซ้อนชั้น

เจดีย์ทรงปรางค์ :
เป็นเจดีย์ที่มีทรงคล้ายดอกข้าวโพดประกอบด้วยส่วนฐานรองรับเรือนธาตุส่วนยอดเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปซึ่งคลี่คลายมาจากรูปแบบของปราสาทขอมแต่เจดีย์ทรงปรางค์โปร่งเพรียวกว่าปราสาทแบบขอม

              

เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม : 
เจดีย์ทรงนี้เรียกชื่อตามลักษณะของยอดเจดีย์ที่คล้ายดอกบัวตูมบางองค์ทากลีบบัวประดับตรงดอบัวตูมด้วยบางครั้งเรียกว่า “เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” เป็นความนิยมที่สร้างกันมากในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี


เจดีย์ทรงเครื่อง :
“เจดีย์ทรงเครื่องเป็นเจดีย์ที่ประดับลาย*เฟื่องรอบองค์ระฆังเพื่อแสดงลักษณะเด่นพิเศษจากเจดีย์องค์อื่น

เจดีย์ทรงเครื่องนี้มักสร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ทรงเกียรติเช่น ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างถวายเป็นพระราชอุทิศ แด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (ด้านทิศตะวันออก) และสร้างขึ้นเป็นส่วนพระองค์โดยเฉพาะ (ด้านทิศตะวันตก)

ขยายความลักษณะพิเศษก็คือการประดับองค์ระฆังด้วยปูนปั้นเป็นลายเฟื่องนั้น น่าจะสื่อความหมายเช่นเดียวกับพระพุทธรูปทรงเครื่อง ที่มีความเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความหมายมาจากความเชื่อจักรพรรดิราชาที่มีอยู่ทั้งในพุทธศาสนาทั้งในมหายานและเถรวาท
(หนังสือพจนานุกรม สถาปัตยกรรมและศิลปเกี่ยวเนื่อง ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์โชติกัลยาณ มิตร)


เจดีย์ย่อมุม :


ปรางค์ :



ลักษณะและรูปทรงของพระปรางค์
พระปรางค์ในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมขอมมีลักษณะจำแนกเป็น 4 แบบ คือ
1.ทรงศิขร เป็นปรางค์รูปแบบดั้งเดิม สร้างขึ้นตามแบบแผนเดิมของขอมเน้นคติความเชื่อว่าเป็นการ จำลองภูเขา และ สวรรค์ชั้นฟ้า ตัวอย่างได้แก่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์ เป็นต้น
2.ทรงงาเนียม มีลักษณะคล้ายงาช้าง ลักษณะใหญ่แต่สั้นตอนปลายโค้งและค่อนข้างเรียวแหลม ถือเป็นประดิษฐกรรมของช่างไทยโดยมีการพัฒนาจากรูปแบบเดิมจนมีลักษณะเฉพาะของตนเองในสมัยอยุธยาตอนต้นตัวอย่างได้แก่ ปรางค์เหนือปราสาทพระเทพบิดรวัดพระศรีรัตศาสดารามกรุงเทพฯ พระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุเมืองเชลียงสุโขทัย เป็นต้น
3.ทรงฝักข้าวโพด มีลักษณะ ผอมบางและตรงยาวคล้ายฝักข้าวโพดส่วนยอดนั้นจะค่อยๆเรียวเล็กลง ก่อนรวบเป็นเส้นโค้งที่ปลายเป็นลักษณะเฉพาะของพระปรางค์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตัวอย่างเช่น วัดเทพธิดารามกรุงเทพฯ วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เป็นต้น
4.ทรงจอมแห มีลักษณะคล้ายแหที่ถูกยกขึ้น ตัวอย่างได้แก่วัดอรุณราชวรารามธนบุรี
ปรางค์อาจถือเป็นรูปแบบหนึ่งของเจดีย์ เช่นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (เจดีย์ยอดทรงดอกบัวตูม) ของสมัยสุโขทัยเช่นเจดีย์ทรงระฆัง ของสมัยสุโขทัยก็มี ของสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยรัตนโกสินทร์ก็มี
เจดีย์แบ่งตามประเภทและตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร
พระเจดีย์ที่ใช้ประกอบในผังเขตพุทธาวาส โดยทั่วไปแยกออกได้เป็น 5 ประเภทตามตำแหน่งที่ตั้งและหน้าที่ คือ
1.เจดีย์ประธาน หมายถึง พระเจดีย์ที่ถูกกำหนดให้เป็นอาคารหลักประธานของวัด จึงมักเป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่สุดในผัง ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ ณ บริเวณกึ่งกลางผังหรือบนแนวแกนหลักด้านหลังพระอุโบสถหรือพระวิหาร ตำแหน่งเจดีย์ประธาน เช่น วัดกุฎีดาว อยุธยา, เจดีย์ประธาน วัดโสมนัสวิหาร 
2.เจดีย์ทิศ(เจดีย์ประจำมุม) หมายถึง พระเจดีย์รองสำคัญในผังที่ถูกกำหนดให้ตั้งประกอบในผังที่ทิศทั้ง 4 หรือมุมทั้ง 4



3. เจดีย์ราย หมายถึง พระเจดีย์ขนาดย่อมที่ประกอบในผังในฐานะพระเจดีย์รอง โดยจะวางอยู่เรียงรายรอบอาคารประธาน เจดีย์ราย วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา, เจดีย์ราย วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ



4. เจดีย์คู่ หมายถึง พระเจดีย์ที่ทำเป็นคู่ ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารสำคัญอย่างพระอุโบสถหรือพระวิหาร หรือพระปรางค์ เจดีย์คู่ วัดชิโนรส ธนบุรี เจดีย์คู่ วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา 

ภาพแสดงองค์ประกอบของเจดีย์
องค์ประกอบของเจดีย์โดยทั่วไป ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังแสดงในรูปต่อไปนี้

1. ลูกแก้ว องค์ประกอบส่วนที่ตั้งอยู่บนปลายยอดสุดของพระเจดีย์นิยมทำเป็นรูปทรงกลมเกลี้ยง บางแห่งทำเป็นรูปคล้ายหยดน้ำ ซึ่งเรียกว่า “หยดน้ำค้าง”



2. ปลี องค์ประกอบของยอดพระเจดีย์ส่วนที่ทำเป็นรูปกรวยกลมเกลี้ยงคล้ายปลีกล้วยต่อจากส่วนของปล้องไฉนขึ้นไป บางแห่งยืดปลีให้ยาวแล้วคั่นด้วย “บัวลูกแก้ว” ตอนกลางทำให้ปลีถูกแยกเป็น 2 ส่วน ซึ่งจะเรียกส่วนล่างว่า “ปลีต้น” และส่วนบนว่า “ปลียอด"



      3. บัวกลุ่ม ชื่อเรียกองค์ประกอบชุดหนึ่งซึ่งทำเป็นรูป“บัวโถ” ต่อซ้อนให้มีขนาดลดหลั่นกันขึ้นไปอย่าง“บัวลูกแก้ว” สำหรับใช้เป็นส่วนของ“ปล้องไฉน” ในเจดีย์ย่อเหลี่ยม


4. ปล้องไฉน ชื่อเรียกส่วนปลายที่เป็นยอดแหลมของพระเจดีย์ ซึ่งทำเป็นบัวลูกแก้วคั่นเป็นข้อๆใหญ่เล็กลดหลั่นลงตลอดแท่ง ตรงเชิงฐานรับด้วย “บัวถลา” ก่อนวางเทินบน “ก้านฉัตร”

5. ก้านฉัตร องค์ประกอบทางโครงสร้างของพระเจดีย์ที่ทำเป็นรูปทรงกระบอกกลม ทำหน้าที่เทินรับปล้องไฉนให้ตั้งฉาก

6. เสาหานองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่ช่วยเสริม “ก้านฉัตร” ในการรับน้ำหนักของ “ปล้องไฉน” และ “ปลี” นิยมทำเป็นรูปทรงกระบอกกลมหรือแปดเหลี่ยมขนาดเล็กแต่สูงเท่ากับก้านฉัตร วางล้อมก้านฉัตรในตำแหน่งของทิศประจำทั้ง 8


7. บัลลังก์ องค์ประกอบสำคัญที่ทำเป็นรูป “ฐานปัทม์” 4 เหลี่ยม หรือ4 เหลี่ยมย่อมุม หรือ กลม หรือ 8เหลี่ยมวางเทินเหนือหลังองค์ระฆัง เพื่อตั้งรับ “ก้านฉัตร” และ “เสาหาน”

8. องค์ระฆัง องค์ประกอบส่วนที่สำคัญที่สุดของพระเจดีย์ในฐานะตัวเรือนของอาคารที่ทำเป็นรูปทรงกลมปากผายคล้ายระฆังคว่ำปากลงในงานสถาปัตยกรรมไทยองค์ระฆังนี้มีทั้งแบบทรงกลม ทรง 8 เหลี่ยม และทรง4เหลี่ยมย่อมุมตามคตินิยมของแต่ละยุคสมัยที่แตกต่างกัน


9. บัวคอเสื้อองค์ประกอบตกแต่งที่ทำเป็นรูปกระจังปั้นทับลงบนส่วนของสันบ่า“องค์ระฆัง” 
*บัวคอเสื้อ คือ ปูนปั้นตกแต่งลวดลาย*



10. บัวปากระฆังชื่อเรียกส่วนประกอบที่ทำเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายบางแห่งปั้นปูนประดับเป็นรูปกลีบบัว

11. บัวโถชื่อเรียกองค์ประกอบสำคัญที่เป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ย่อเหลี่ยมที่ทำเป็นรูปบัวมีกลีบขนาดใหญ่ดอกเดียวเทินรับองค์ระฆังแทน“บัวปากระฆัง”ในเจดีย์ทรงกลมบ้างเรียกว่า “บัวคลุ่ม” ก็มี

12. มาลัยเถาชื่อเรียกองค์ประกอบชุดหนึ่งที่ทำเป็นชั้นของ “บัว” หรือ “ลูกแก้ว”คล้ายพวงมาลัยซ้อนต่อกันขึ้นไป
3 ชั้น ใต้บัวปากระฆัง


ฐาน
      ฐานมีหลายชื่อ แต่สำหรับหมุ่ช่างจะเรียกว่าฐานบัว ซึ่งพัฒนามาจากฐานหน้ากระดานโดยเพิ่มองค์ประกอบบัวคว่ำและบัวหงายลงไป
13.ฐานสิงห์ หรือฐานเท้าสิงห์เป็นฐานที่ช่างยกย่องว่าเป็นฐานชั้นสูงกว่าฐานอื่น ฐานเท้าสิงห์ ซ้อนกัน 3 ชั้น ใช้เป็นชุดของ“มาลัยเถา” สำหรับเจดีย์ย่อเหลี่ยม
14. ฐานปัทม์ เป็นองค์ประกอบสำคัญทางโครงสร้างของพระเจดีย์ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักอาคารทั้งองค์หรือใช้เสริมองค์พระเจดีย์ให้ดูสูงขึ้นเหตุที่เรียกว่า “ฐานปัทม์” เนื่องเพราะโดยทั่วไปฐานชนิดนี้ก่อรูปด้วยลักษณะของฐานบัวชุด“บัวคว่ำ”และ“บัวหงาย” (ปัทม์หมายถึง ดอกบัว)
***การประดับฐานปัทม์เช่นครุฑ หรือมารทำให้ส่วนที่ประดับครุฑต้องคอดเข้าจึงมีที่เรียกส่วนนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “เชิงบาตร” หรือ “เอวขัน***
ภาพแสดงพระปรางค์วัดอรุณ ที่เชิงบาตรประดับด้วยมารแบก กระเบื้องเคลือบสีลายดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯ

15. ฐานเขียง เป็นชื่อเรียกฐานหน้ากระดานเกลี้ยงๆชั้นล่างสุดขององค์พระเจดีย์ ซึ่งแต่ละองค์แต่ละรูปแบบอาจจะมีฐานเขียงได้ตั้งแต่1-5 ชั้น ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปแล้วแต่จะกำหนด


  โครงสร้างโบสถ์ - วิหาร - ปราสาท - ราชวัง ในรูปแบบสถาปัตยกรรม
ประกอบด้วยโครงสร้างหลักดังนี้
๑.  ช่อฟ้า
๒. ใบระกา (ใบโพธิ์-ดอกบัว)
๓. อกไก่
๔. แปลาน
๕. แปวง
๖. ตัวนาคสะดุ้ง
๗. หัวหงส์
๘. บังนก
๙. ลายไทยประดับหน้าบัน
๑๐. เชิงกลอน
๑๑. แปหัวเสา
๑๒. กระจังประกอบหน้าบัน
๑๓. ลายหน้ากระดาน
๑๔. กระจังรวน
๑๕. แผงแร ( คอสอง )
๑๖. คูหา
๑๗. บัวปากเสา ( ปลายเสา )
๑๘. ลายหน้าอุดปีกนก
๑๙. แผงแล ( คอหนึ่ง )
๒๐. พุก
๒๑. สะพานหนู
๒๒. ตีนผี ( เดือย )
๒๓. แปปลายเต้า
๒๔. เชิงแป
๒๕. ลายหน้าอุดเต้า
๒๖. เต้า
๒๗.ท้าวแขน ( คันทวย )







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น